blogนี้ทำขึ้นเพื่อต้องการเก็บข้อมูลที่ได้จากการซื้อหนังสือแล้วเนื่องจากอยากเก็บไว้ เพื่อง่ายต่อการค้นหา และเก็บสำรองเพราะนับวันหนังสือก็จะเก่าและมีเยอะขึ้นทำให้หาที่เก็บยาก ถ้าสำนักพิมพ์ใดเห็นว่าไม่สมควรก็แจ้งมาเพื่อลบบทความนั้นๆๆได้ครับ

หมายเหตุ บทความ ที่นำมาลงเพื่อเตื่อนหรือเก็บไว้เป็นความรู้ไม่ได้นำไปทดสอบความใช้งานไ้ด้จริงหรือเปล่าผิดพลาดประการใดก็ขออภัยมานะที่นี้ด้วย

วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2557

จอมอนิเตอร์ 21:9 จะยาวไปไหน

จากห่างหายไปหลายวัน เนื่องจากหาบทความแหละไม่สบายบวกกับหา 21:9 ในอินเตอเน็ตก็ไม่เจอซักที ไปเจอประวัติดังบทความที่แล้ว
 จากหาอยู่หลายวันเพื่อหาจอ 21:9 หลายบทความที่เจอก็เป็นการพูดถึงสินค้าสวนใหญ๋นะครับ ดังเช่น
http://www.freeware.in.th/review/8060, http://www.blognone.com/node/51808
อ่านอยู่หลายเวปหลายบทความก็คาดว่า จอมอนิเตอร์ 21:9 ทำมาเพื่อความบันเทิงในการชมภาพพยนต์เหมือนดูหนังโรง(โรงหนัง)นะครับ , คุณสามารถมีมุมมองแนวราบ ได้กว้างกว่าเดิมมาก ถึง 640 pixel นะครับ ผลของมันก็คือ ทำให้จอภาพของคุณสามารถแสดงผล 2 Applications ด้วย Resolution ที่ใหญ่ถึง 1,280 x 1,080 ได้ถึง 2 จอนั่นเองครับ หรือจะแบ่งการทำงานในแต่ละส่วนเปิดดูพร้อมกันดังภาพข้างล่างนี้นะครับ



คนที่เหมาะกับเจอยาวขนาดนี้ ก็คงเป็น
      1.พวกที่ทำงานกราฟฟิก ต่างๆๆ
      2. พวกที่ต้องใช้พื้นที่มากๆๆในด้านการเขียนแบบ
      3. พวกที่ต้องการดูข้อมูลหลายๆๆอยางพร้อมกันในการตรวจสอบล เช่นหุ้น
      4. และวกที่ต้องการชมภาพยนต์แบบเต็มตาขนาดเท่ากับโรงหนัง
      5. และอื่นๆอีกมากมาย ครับ

 ปลสำหรับผมไม่ค่อยได้คอหนัง ชอบ 4:3 รุ่นเ้ก่ามากกว่านะครับ เพราะอะไรนะหรือคับ เพราะจอยาวไปไหนครับทำให้พื้นที่ใช้สอย(โต๊ะคอมจะไม่มีทีวางของอยู่แล้วนะครับ แต่อย่างว่าละครับน่านาจิตผมคงเป็นคนส่วนน้อยนะครับ

ตำนานแห่ง Aspect Ratio (สัดส่วนหนัง 4:3, 16:9)

ที่มา http://pantip.com/topic/30544028(ท่านAgent Molder จากเวป pantip.com)

ประวัติศาสตร์ของ Cinema aspect Ratios

    ทีนี้เจ้าหน่วย 4:3 มีที่มาอย่างไร..ก็มีเรื่องเล่ากันว่า ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 Thomas Edison และผู้ช่วยของเขา Willium L.K Dickson (โทมัส อัลวา เอดิสัน คนเดียวกันกับที่คิดค้นหลอดไฟนั่นแหล่ะ และเขายังเป็นผู้คิดค้นเครื่องถ่ายและฉายภาพ เครื่องตัดต่อแผ่นฟิล์ม จนนำไปสู่การสร้างภาพยนตร์ด้วยนะ;ที่มา วิกิพีเดีย) กำลังง่วนอยู้กับ film 70mm. ที่คิดค้นขึ้นมาใหม่โดยร่วมกับ George Eastman (ผู้คิดค้น และเป็นเจ้าของ film KODAK)
    นายเอดิสันบอกว่า ฟิล์ม 70 mm. มันใหญ่เกินไป เวลาเก็บลำบากมาก และเปลืองพื้นที่ เปลืองเงิน เลยบอกให้นายดิกสัน และจอร์จ เอาไปตัดออกครึ่งนึง ดิกสันก็ถามว่า จะให้ตัดเท่าไหร่ โทมัสเลยเอานิ้วไปทาบกับฟิล์ม 70mm นั้นแล้วลากเส้น ปรากฏว่าเส้นนั้นคืออัตรส่วน 4:3 นั่นเอง (ภายหลังนักวิชาการบางคนก็ว่า เอดิสันใช้ “สัดส่วนทองคำ” หรือ “Golden Section” ประมาณ 1.6:1 ) ต่อมาเมื่อเอดิสันมีชื่อทางด้านฟิล์มภาพยนต์ ในปี 1917 ทาง Society of Motion Picture Engineers (SMPE) จึงได้วางมาตรฐานสากล ให้ฟิล์มภาพยนตร์(สมัยนั้น)ใช้อัตราส่วน 4:3 ยาวนานถึง 35 ปี


เอดิสัน

   ต่อมาก็เริ่มมีการผลิตโทรภาพ หรือโทรทัศน์ขึ้นมาในปี 1930 ก็ได้มีการใช้สัดส่วน 4 : 3 นี้ในการสร้างจอภาพเช่นเดียวกับภาพยนตร์ รวมทั้ง soft ware ต่างๆทางด้านภาพ เช่นการบันทึก VDO การ broadcast รายการต่างๆ ก็จัดและบันทึกในรูปแบบ 4:3 เรื่อยมา ถึงแม้เทคโนโลยีพัฒนาขึ้น แต่สัดส่วน 4:3 ก็ยังไม่เปลี่ยน เพื่อการ connect ที่ง่าย plug and play ไม่ต้องแปลงอะไรให้ยุ่งยากจนถึงปัจจุบัน



Getting Wide (เริ่มขยายสัดส่วน)
   หลังจากเริ่มมีการแพร่ภาพสัญญาณโทรทัศน์ครั้งแรกในปี 1939 โดยสถานี NBC จากนั้นก็ได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ทั้งสื่อบันทึก ทั้งการมาของ Hollywood จากผู้ผลิตอัตราส่วน 4:3 ก็ได้มีการพัฒนาอัตราส่วนออกมาอีกมากมายเพื่อการแข่งขันทางภาพยนตร์..ปัจจุบัน สัดส่วนภาพมากมายเหล่านั้นได้หายไปเหลือไม่กี่สัดส่วนเท่านั้น แต่ยังไงก็ตาม สัดส่วน 4:3 ก็ยังคงเป็นมาตรฐานในการผลิต TV โดยทั่วไปอยู่ดี ถึงแม้ฟิล์มภาพยนตร์จะเป็น wide aspect แล้วก็ตาม

    จากข้อความข้างต้น ปัญหาจึงบังเกิด เนื่องจากบริษัทผลิตฟิล์มภาพยนตร์ที่ฉายตามโรง ใช้สัดส่วนที่กว้างกว่า 4:3 แต่การมาของสื่อต่างๆ เช่น VDO เทป ที่ต้องไปเปิดตามบ้าน ที่มี TV เป็น 4:3 นั้น เป็นต้นเหตุของปัญหา ทางบริษัทผลิตวิดีโอเทป จึงตัดปัญหาในการแปลงฟิล์มหนัง เป็นม้วนวิดีโอ โดยการ “ตัดด้านข้างออกแม่มเลย” เพื่อให้สัดส่วนออกมาได้ 4:3 พอดีกับที่ฉายบนจอ (แต่ก่อน TV ยังไม่มีระบบการ upscale หรือ down scale อะไรทั้งสิ้น มายังไง ฉายไปยังงั้น) ก็ทำกันเรื่อยมาโดยไม่มีปัญหา

    แต่ในปี 1979 บริษัทผลิตหนังเรื่อง Manhattan ไม่ยอมให้หนังของตน เผยแพร่ทีวีแบบถูกตัดด้านข้างทิ้ง เลยร่วมกันคิดค้นวิธีว่าจะทำไงดี เลยเป็นที่มาของ Letterboxing ซึ่งก็คือการย่อขนาดภาพกว้างยัดเข้าไปให้หมดในทีวี 4:3 แล้วใช้แถบดำปิดบนล่างแทน..หลายคนเริ่มคุ้นใช่ไหมครับ หลังจากหนังเรื่องนี้ ก็มีคนทำตามอีกมากมาย จนกลายเป็นที่มาของแถบดำบนล่าง เป็นต้นมา ทั้งในสื่อ DVD หรือ HDboardcast ในปัจจุบัน


Manhattan(1979)


Display Resolution

   อ้าว แล้วถ้าเราต้องการดู wide แบบเต็มๆจอจะทำไงอ่ะ เราอุตส่าซื้อจอภาพแบบ wide screen มาแล้วนิในเมื่อเขาทำ letterbox มาในทุกๆสื่อบันทึก ก็ไม่ยาก ขอบคุณ function zoom ในเครื่องเล่น vdo หรือเครื่องฉาย ทำให้เราสามารถดูสัดส่วน 4:3 ที่ถูก letterboxing มาแล้ว แบบเต็มจอในจอภาพ wide ได้ (หากไม่เข้าใจ เดี๋ยวมีรูปประกอบ) ปัญหาของวิธีการ letterboxing คือ เราจะมี pixel ที่หายไป เนื่องจากต้องเอาไปตัดเป็นแถบดำคาดบนล่าง จากความสูง 480 เส้นในแบบ VGA จะเหลือ 320 – 360 เส้นเท่านั้น ทำให้เราใช้ pixel ไม่เต็มที่ เสียของ

กว้างขึ้นอีกนิด

ย้อนกลับไปในยุค 1950 ยังมีคนอีกกลุ่มที่นิยม Cinemascope ได้คิดค้นอีกนวัตกรรมนึงที่ไม่ต้องใช้แถบดำให้เสีย pixel ไป โดยการคิดค้น “Anamorphic lens” ขึ้นมา โดยใช้ anamorphic lens ตัวนี้บีบภาพ wide screen ลง film หนัง 4:3 แล้วใช้ reverse anamorphic เพื่อ ขยายภาพลงบนจอ wide screen อีกที ว่ากันว่าในตอนแรก โรงภาพยนตร์ของ Hollywood ก็ไม่ใช้วิธีประหลาดๆนี้ แต่ต่อมาก็หันมาใช้กันแพร่หลาย เนื่องจาก แทบไม่ต้องเพิ่มต้นทุนอะไรเข้าไปเลย นอกจากเลนส์สองตัว ซึ่งวิธีการ anamorphic lens นี้ ก็ได้นำกลับมาใช้ในปัจจุบัน ในเครื่องโปรเจคเตอร์บางชนิด ซึ่งก็มีทั้งที่ใช้เลนส์ และใช้ digital ในการซูมและขยายภาพ หรือที่เรียกว่า lens memory นั่นเอง

การแสดงผลในกรณีแหล่งภาพต่าง Resolution กัน


นอกจากการแก้ไข หรือปรับปรุงที่เครื่องฉาย หรือการฉายแล้ว ตัวผู้ผลิต Screen เอง ก็มีการผลิตที่เน้นเรื่องสัดส่วนภาพเช่นกัน ตัวอย่างเช่น ทำ Screen สองอัน สองสัดส่วน ในกล่องเดียวกัน ถ้าเราต้องการดู 16:9 ก็ดึงอัน 16:9 ลงมา ถ้าต้องการดู 4:3 ก็ไปดึงเอาแบบ 4:3 ลงมา หรือบางเจ้าก็ทำม่านไฟฟ้า มาพร้อมในกล่อง Screen เลย มีการยกปิด ยกเปิดแถบดำเวลาฉายภาพสัดส่วนต่างๆกันไป

Screen(จอภาพ)รูปแบบต่างๆ


บิดาแห่ง 16:9
เคยถามคำถามไหมครับว่าสัดส่วน 16:9 ซึ่งปัจจุบันก็เป็นมาตรฐานในจอภาพแบบ HD หรือจอ Wide screen ทั่วไป สัดส่วนนี้มันมาจากไหน เรามาดูกัน..

   จากที่กล่าวไปแล้วในข้อความด้านบน ว่าสัดส่วนของภาพในปัจจุบันเหลืออยู่ไม่กี่อันที่เป็นที่ยอมรับ ซึ่งก็ได้แก่ 1.33 โดย The academy standard aspect ratio, 1.67 (The European wide screen aspect ratio), 1.85 (The American widescreen aspect ratio), 2.20(Panavision) และสุดท้าย 2.35(CinemaScope)…อ้าว แล้ว 16:9 หรือ 1.77 ของหนูหายไปไหน?? ไม่ต้องแปลกใจ คำตอบอยู่ที่ “Mr.Kerns Powers” นั่นเอง

    ประมาณปี 1980 ขณะที่เทคโนโลยีด้านภาพกำลังวุ่นวายกับสัดส่วนต่างๆดังที่กล่าวไป (คล้ายๆกับกรณีแรงดันไฟยุโรป 110 เมกา 220 หรือแม้แต่เต้าเสียบ เต้ารับ คนละโซนรูยังต่างกัน ) ทาง SMPE (ยังจำได้ไหม ถ้าไม่ได้ ก็ไปดูย่อหน้าแรกๆ) ก็ได้สุมหัวกันว่า ตูจะทำไงดีฟะ ให้ทีวีมันรับภาพได้หลากหลายโดยไม่ต้องวุ่นวายกับพวก aspect ratio เหล่านี้

    ในขณะที่กำลังประชุมกันวุ่นวาย นาย Kerns Powers ก็ได้เดินเข้ามา หยิบกระดาษไข ดินสอบ แล้ววาดรูปสี่เหลี่ยมตามสัดส่วนต่างๆลงไปในกระดาษแต่ละใบโดยใช้สัดส่วนเท่ากัน แล้วก็เอามาซ้อนทับกัน..โอ้วมายก๊อดดด สัดส่วน 16:9 ก็ ปรากฏออกมาให้เห็นอย่างไม่น่าเชื่อเลยจอร์จจจจ (ดูภาพประกอบ) ทำให้ไม่ว่าจะทำหนังสัดส่วนขนาดไหนก็ตาม ก็สามารถเอามายัดลง 16:9 ได้หมด มันเยี่ยมจริงๆ

K.P. Ratio


Credit : http://www.cinemasource.com/index2.html

วันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2557

word ในไฟล์เดียวแนวตั้งบ้างนอนบ้าง

ทุกท่านคงเคยทำรายงานมาบ้างแล้วนะครับ ในบางครั้งเราก็อยากให้บางหน้าเป็นแนวนอนบางหน้าเป็นแนวตั้ง วิธีง่ายสุดก็คงต้องพิมพ์ไว้คนละไฟล์ เพราะถ้าเราตั้งค่าหน้ากระดาษเป็นแนวไหนแล้วก็จะเป็นตามนั้น วันนี้ผมเลยมานำเสนอ ในไฟล์เดียวมีตั้งแนวตั้งและแนวนอน
     ขั้นตอนแรกเพิมงานให้เสร็จไปก่อน (ในตัวอย่างผมพิมไว้3 หน้านะครับ)
     ขั้นตอนที่2 เลือกหน้าที่ต้องการและเนื้อหาที่ต้องการให้เป็นแนวนอน ในภาพที่ 1 นั้นผมเลือกส่วนที่ต้องการไว้โดยลากไฮไลไว้(บริเวณที่ผมวงรีสีเขียวไว้นะครับ)

ภาพที่ 1

     ขั้นตอนที่ 3 กดที่แท็บ Page Layout(โครงสร้างหน้ากระดาษ) จากภาพที 1 ผมตีกรอบสี่เหลี่ยมสีแดงไว้นะครับ
     ขั้นตอนที่ 4 กดที่มุมขวาล่างที่Page Set up (ตั้งค่าหน้ากระดาษ) จากภาพที่ 1 บริเวณที่ผมวงกลมด้วยสีแดงไว้นะครับ
     ขัี้นตอนที่ 5 จากนั้นก็จะปรากฎภาพที่ 2 ขึ้นมา จากนั้นให้เลือกเป็นLandscape (แนวนอน) ดังที่ผมวงกลมสีแดงไว้นะครับ

ภาพที่ 2
     
     ขั้นตอนที่ 6 ตำแหน่งApply to : (นำไปใช้กับ :) ตรงนี้ให้เลือกว่า  Selected text(ข้อควาที่เลือก)
จากนั้นกด ok(ตกลง) เป็นอันเสร็จ

ภาพที่ 3


จากภาพที่ 3 จะเห็นผมลัพของงานที่เราเลือกไว้ จะเห็นว่าส่วนที่ไฮไลนั้นไปอยู่ในส่วนของแนวนอนเรียบร้อยแล้วครับ


ปลหรืออีกแบบหนึ่งให้พิมไปเรื่อยพอมาถึงหน้าที่ต้องการให้เป็นแนวนอนให้ท่านนำเคเซอไปคลิกบรรทัดบนสุดของหน้าที่จะให้เป็นแนวนอนในภาพที่ 4 ผมต้องการให้แผ่นที่สองเป็นแนวนอนนะครับบริเวณที่ผมวงสีแดงไว้

ภาพที่ 4

จากนั้นให้กดขั้นตอนที่3และ4และ 5 ตามลำดับ(ดังวิธีแรก)ก็คือให้กดที่ Page Layout  >> Pag Setup    จากนั้น เลือกLandscape (กระดาษแนวนอน)

จากนั้น ดังภาพที่ 5 ที่ผมวงกลมสีแดงไว้ ตรงบริเวณ นำไปใช้กลับ : ให้เลือก จุดนี้เป็นต้นไป (จะหมายความว่าแผนที่2 เป็นต้นไปจะเป็นแนวนอน  พอเราพิมพ์งานที่เป็นกระดาษนอนเสร็จก็ให้เราไปกลับกระดาษจากแนวนอนให้เป็นแนวตั้ง แล้วเลือกจุดนี้เป็นต้นไป


ภาพที่ 5


ก็เลือกเอานะครับว่าจะพิมพ์ให้เสร็จก่อนหรือจะทำไปกลับกระดาษไปแล้วแต่สะดวก

วันพุธที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2557

เลือกได้ สำหรับปริ้นหรือไม่ปริ้น background

หลายต่อหลายครั้งเราทำงานword เราต้องการใส่พื้นหลังให้กับงานของเรานะครับหลังจากเสร็จแล้ว ไม่ได้ตรวจสอบก่อนปริ้น ปริ้นงานออกมาเลยปรากฎว่าไม่มีพื้นหลัง(background)ดังที่เราทำไว้ ต้องทำอย่างไรมาดูกันครับ
     จากภาพที่2 งานทีเราทำมีสีพื้นเป็นสีน้ำเงิน แต่พอดูตัวอยางก่อนพิมพ์ พื้นหลังเป็นสีขาวนะครับ

ภาพที่ 1 ตัวอย่างก่อนพิมพ์


ภาพที่ 2 งานที่ทำนะคับ
     ขั้นตอนที่ 1กด print (พิมพ์) ครับก็จะปรากฎดังภาพที 3 ครับ

ภาพที่ 3 print

     ขั้นตอนที่ 2 กดปุ่มตัวเลือก(options) ดังในภาพที่ 3ครับ

ภาพที่ 4 option(ตัวเลือก)
     ขั้นตอนที่ 3 หลังจากดก็จะปรากฎดังภาพที่4 ให้กคลิ้กซ้ายที่ผมวงไว้ ก็จะปรากฎเครื่องหมายถูกในช่อง Print background colors and images (พิมพ์สีพื้่นหลังและภาพ) จากนั้นกดปุ่ม Ok(ตกลง)
     ขั้นตอนที่ 4 ตรวจสอบก่อนพิมพ์จริงนะครับโดยกดเหมือนตอนแรกนะคับ ให้กดตัวอย่างก่อนพิมพ์ก็จะปรากฎดังภาพที่ 5 นะครับ เป็นอันใช้ได้เราก็จะได้พื้นหลังเมือปริ้นออกมา ในทางกลับกันทำไว้แล้วเราไม่ต้องการพื้นหลังเพื่อประหยัดหมึกเอาแค่เนื่อหาเพื่อมาตรวจสอบก่อนพิมพ์ส่งก็ให้กดเอาเครื่องหมายถูกออกจากชองที่ผมวงไว้ก็จะไม่มีพื่นหลังให้เปลืองหมึกแล้วครับ

ภาพที่ 5 ตัวอย่างหลังจากที่เลือกที่จะปริ้นสีพื้่นหลัง

วิธีทดสอบไมค์ที่มีใช้ได้หรือไม่

     ว่าด้วยเรื่องไมค์ เดียวนี้เกมส์ออนไลน์ หลายต่อหลายเกมส์มีการใช้ไมค์กัน หรือแม้แต่การคุยทางอินเตอร์เน็ตผ่านคอมพิวเตอโน็ตบุ๊ค ต้องใช้ไมค์ไม่ว่าจะเป็นไมค์ล้วนๆๆหรือไมค์ที่ติดมากับหูฟังก็ตามเราจะรู้ได้อย่างไรว่าใช้งานได้ครับ

     สำหรับวิธีการทดสอบไมค์ทำได้ดังนี้ครับ
     ขัึ้นตอนที่ 1 กดที่ Control Panelครับ

 ภาพที่ 1 comtrol Panel


     ขั้้นตอนที่ 2 กดที่Sounds and Audio Devices ครับ ดับภาพที่ 1 ครับ

     ขั้นตอนที่ 3 กดที่ voice ดังภาพที่ 2 ครับ

  
ภาพที่ 2 Sounds and Audio

     ขั้นตอนที่ 4 เลือกtest hardwareดังภาพที่ 3

ภาพที่ 3 test hareware

 
     ขั้นตอนที่ 5จากนั้นกดที่ปุ่ม next ในภาพที่ 5

ภาพที่ 5 test sound
     ขั้นตอนที่6 หลังจากดปุ่มnext จะขึ้นแถมสีน้ำเงินดังภาพที่ 6 ให้รอจนเต็มครับ

ภาพที่ 6 

 ขั้นตอนที่ 7 หลังจากที่รอคอยแถวสีน้ำเงิน(ดังภาพที่6)เต็ม ก็จะขึ้นภาพที่ 7 ครับ จากนั้นตรวจสอบว่าท่านเสียบไมค์ของท่านหรือยังครับ จากนั้นท่านก็ทดสอบส่งเสียงไม่ว่าจะเป็นร้องเพลงหรืออะไรก็ได้ถ้าไมค์ใช้งานได้จะมีแถบสีเขียวขึ้นดังภาพที่ 8 ครับถ้าใช้งานไม่ได้ลองขยับแจ็คของไมค์ที่เสียบดูถ้ายังใช้ไม่ได้แสดงว่าไมค์ของท่านเสียนะครับ

ภาพที่ 7 

ภาพที่ 8



วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557

ดาวโหลดYoutube ไม่ง้อโปรแกรมดาวโหลด

เคยไหมครับอยากนำหนังหรืออะไรต่างๆๆyoutube เก็บไว้ดูหรือดาวโหลดแล้วนำงานไปส่งให้คุณครู
วิธีการก็ไม่ยาก
     ขั้นตอนแรกเปิด Youtube.comขึ้นมานะครับ
     ขั้นตอนที่สองเปิดหนังหรืองานที่ท่านต้องการดาวโหลดจากนั้นก็ก๊อปปี้(ภาพที่1)

ภาพที่ 1 ก็อปปี้ส่วนที่ผมวงรีไว้นะครับ 

 ขั้นตอนที่สาม เปิดเวป www.keepvid.com นำURL ที่ก็อปปี้มาจากขั้นตอนที่สองลงช่องที่ผมวงรีไว้(เลข1)โดยกดคลิ็กซ้ายที่ช่องที่ให้เติม จากนั้นกดขวาเพื่อวาง

ภาพที่ 2
ขั้นตอนที่สี่ เมือวางเรียบร้อยแล้วให้สังเกตที่ผมวงไว้(เลข2) ตรงนี้จะแจ้งว่าเครื่องท่านมี JAVA หรือยัง ถ้าลงแล้ว จะขึ้น Onแบบผมถ้้ายังไม่ลงให้ไปที่http://java.com/en/download/index.jsp เพื่อดาวโหลดโดยกดปุ่ม  Free Java Download หรือกดที่ผมวงกลมดังภาพที่ 3

ภาพที่ 3 แสดงว่าเครื่องนี้ยังไม่มี Javaต้องดาวโหลด

ขั้นตอนที่ห้าเมือดาวโหลดJavaให้ติดตั้ง 
ขั้นตอนที่หกกลับมาส่วนของการดาวโหลดต่อนะครับ กดปุ่ม download ที่เป็นสีเทาข้างหลังที่วางurl ที่เราจะดาวโหลดนะครับดังรูปภาพที่ 4ที่ผมลงรีไว้เมือกดดาวโหลดก็จะขึ้นดังกรอบสี่เหลี่ยมดังรูปที่4 เมื่อเราเลือกนามสกุลที่เราต้องการแล้วกดปุ่มดาวโหลดได้เลยจากนั้นก็รอจนเสร็จ

ภาพที่ 4  แสดงนามสกุลที่ต้องการจะดาวโหลด



ห้องสมุดที่ไม่มีสมุดเลยสักเล่ม

Pctoday ฉบับ128 OCTOBER 2013

     จากบทความกล่าวไว้ว่า" เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2556 ที่ผ่านมา Biblio  Tech ได้เปิดห้องสมุดในเมืองซานแอนโตนิโอ มลรัฐ เท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นห้องสมุดที่ไม่มีหนังสือแม้แต่เล่มเดียว เป็นห้องสมุดแบบดิจิตอลไม่มีหนังสือที่เป็นกระดาษ แต่จะมีคอมพิวเตอร์ มีหนังสือในรูปอีบุ๊กหรือหนังสือดิจิตอลอยู่มากถึง 10,000 เล่ม นอกจากรบริการหนือสือดิจิตอลแล้วยังมีบริการสอนคอมและมีอินเตอร์เ็น็ตให้บริการด้วย"

     ในความคิดของผมก็ดีระดับหนึ่งแต่ใจจริงผมก็ชอบหนังสือจริงๆๆมากกว่าอีบุ๊ก(หนังสือดิจิตอล) ผมชอบอ่านจากเนื่อกระดาษมากกว่า การดูแลก็ง่ายกว่าในแ่ง่หนังสือตกก็ไม่เสีย แค่ชำรุดถ้าตกปิดจังหวะนะคับ แต่ในขณะที่ ตัวอ่านอีบุ๊กไม่ว่าจะเป็นแท็ปเล็ตหรือโทรศัพท์มือถือหรือแม้แต่pc หล่นทีก็มีน้ำตาตกนะครับ